หน้าหลัก > บทความ > บทความ การดำเนินคดีแบบกลุ่ม
บทความ การดำเนินคดีแบบกลุ่ม
บทความ การดำเนินคดีแบบกลุ่ม
19 Oct, 2022 / By Puditlaw
Images/Blog/99ECX4Tv-9F6B2B5D-8A9E-4F3F-A10E-638915B57F00.png

13 พฤษภาคม 2018  · 

อีกครั้งที่มีโอกาสได้ร่วมทำคดีแบบกลุ่ม รอบนี่น่าสนใจและใกล้ตัวมากขึ้นกว่าเดิมและคิดว่าคงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้ดำเนินคดีแบบกลุ่มมา ลองมาดูสถิติข้อมูลคดีกลุ่มในประเทศไทยนับแต่บังคับใช้กฎหมายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558

1. คดีเหมืองทอง สถานะ ปัจจุบันรับเป็นคดีกลุ่มแล้ว

2. คดีโรงงานกำจัดขยะอันตราย ปัจจุบันรับเป็นคดีกลุ่มแล้ว

3. คดีรถยนต์ สถานะ รอฟังคำสั่ง

4. คดีรถยนต์ สถานะ อยู่ระหว่างไต่สวน

5. คดีเครื่องสำอางค์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับเป็นคดีกลุ่ม

6. คดีโรงงานน้ำตาล อยุ่ระหว่างไต่สวน

ถ้ารวมกับคดีที่จะฟ้องในสับดาห์หน้า 3 คดี ประเทศไทยก็จะมีการดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็น 9 คดีพอดี (หากมีเพิ่มเติมจากนี้แจ้งเป็นข้อมูลได้ครับ)

ต่อมาเล่าถึงประเด็นที่เกริ่นไว้ในตอนต้น ว่ามีความใกล้ตัวกับทุกคนอย่างไร ในปัจจุบันทุกคนคงต้องใช้ระบบสื่อสารไม่ว่าจะเป็น 4G/3G/2G บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1Ghz , 1800 Mhz , 850 Mhz หรือย่านอื่นตามแต่ค่ายบริการ ซึ่งในการใช้บริการนั้นจะต้องคำนวนคิดค่าบริการจากเวลาที่ใช้จริง เช่น หากใช้บริการเป็นเวลา 3 นาที 01 วินาที ก็ต้องคิดค่าบริการในราคา 3 นาที 1 วินาที ตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แต่ยังมีผู้ใช้บริการที่ถูกเรียกเก็บบริการเป็นการปัดเศษขึ้น จึงเป็นที่มาในการดำเนินคดี 3 คดีนี้

ส่วนประโยชน์ที่จะได้รับในการดำเนินคดีกับผู้ให้บริการ โดยการฟ้องคดีผู้บริโภคแบบกลุ่ม

1. สมาชิกกลุ่ม คือผู้ที่เป็นผู้ใช้บริการรายอื่นไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสียค่าดำเนินการมาฟ้องเป็นคดีใหม่ ถึงแม้ตาม พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค มาตรา 30 จะกำหนดให้สามารถรับฟังข้อเท็จจริงที่พิพาทอย่างเดียวกัน ผู้กระกอบธุรกิจรายเดียวกัน ในคดีก่อนได้ แต่ก็หมายความว่าผู้ใช่บริการต้องไปยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่อีก ซึ่งผู้ใช้บริการอีกจำนวนมากคงไม่สะดวกไปยื่นฟ้องใหม่ เพราะเนื่องจากความเสียหายแต่ละรายอาจมีจำนวนไม่มาก แค่หลัก ร้อยบาทไปจนถึงหลักพันเท่านั้น

2. สมาชิกกลุ่มหรือผู้ใช้บริการ สามารถยื่นขอรับชำระเงินตามคำพิพากษาได้เลย มิต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ โดยแสดงรายละเอียด หรือเอกสารว่าตนเป็นสมาชิกกลุ่ม คือ ตนเป็นผู้ใช้บริการของบริษัทจำเลย โดยอาจแสดงแค่บัตรประจำตัวประชาชน ใบเสร็จค่าบริการ หรือเอกสารอื่นอันแสดงว่าตนเป็นลูกค้าของบริษัทจริง ทั้งนี้ภายหลังคดีมีคำพิพากษา

3. อาจเป็นการสร้างมาตราฐานให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค หรือลูกค้าน้อยลง เพราะถึงแม้ยอดการชำระของลูกค้าแต่ละรายมีจำนวนไม่มาก หลักร้อยบาทไปจนถึงหลักพัน แต่ถ้าได้คูณด้วยจำนวนของลูกค้าทั่วประเทศแล้ว อาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบได้ ซึ่งหากผู้ประกอบการรายอื่นเห็นเป็นแบบอย่างแล้วก็คงทำเกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคหรือลูกค้าน้อยลง

ทั้งนี้คงต้องรอดูแนวทางคดีกันต่อไป ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเห็นว่า ถึงแม้ผู้ให้บริการมิได้คืนเป็นตัวเงิน แต่ทำโปรชั่นมาชดเชยในส่วนที่เคยคิดเกินไปก็ยังเป็นทางออกที่ดี สับดาห์หน้ายื่นฟ้องคดีแล้วจะมาเล่าสู่กันฟังอีกรอบครับ

ภูดิท โทณผลิน

13 พฤษภาคม 2561

อ้างอิง

วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 222/1-222 /49

พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคมาตรา 30

ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องมาตราฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม

#classaction

#การดำเนินคดีแบบกลุ่ม

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.